Top
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด

ทุกวันนี้ เรามีขยะครัวเรือนที่ต้องนำมากำจัดหรือทิ้งอยู่เยอะ
วันนี้มิสเตอร์คิว จึงขอนำเสนอ 8 วัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ง่ายจากในบ้าน เอามาใช้ในการบำรุงดิน ช่วยให้พืชให้แข็งแรง โตเร็ว ให้ผลผลิตงาม ๆ แบบปลอดภัยกัน
.
1. ✅ บำรุงดินด้วยเปลือกกล้วย
เปลือกกล้วย มีคุณค่าอย่าเพิ่งทิ้ง! เปลือกกล้วยเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของดิน เพราะเต็มไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม รวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อดินอีกนับไม่ถ้วน

???? วิธีการในการนำเปลือกกล้วยมาใช้บำรุงดินก็มีด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสับเปลือกกล้วยเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ผสมลงในปุ๋ย เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือจะบดเปลือกกล้วย แล้วนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับปุ๋ยหรือดิน หรือจะใช้ทั้งเปลือกเลยก็ได้ แต่ต้องฝังลงไปในดินให้ลึกหน่อย อย่างน้อยสัก 4 นิ้ว แล้วกลบให้มิดชิด และรอเปลือกกล้วยย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป
.
2. ✅ กากกาแฟ
เพียงแค่คลุกกากกาแฟกับดินก็ช่วยเพิ่มสารอาหารได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไนโตรเจน แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และทองแดง ซึ่งล้วนเป็นสารอาหารที่ต้นไม้ต้องการ แถมยังทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ช่วยดึงดูดไส้เดือนดินเข้ามาชอนไช ที่สำคัญแม้จะไม่ได้ชงกาแฟดื่มเองก็ยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายมาก ๆ อาจจะขอมาจากร้านขายกาแฟสดทั่วไป
.
3. ✅ ขี้เถ้า
สำหรับดินที่มีปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินที่มีความเป็นกรดสูง แนะนำให้โรยขี้เถ้าลงไปรอบ ๆ โคนต้นไม้ ก็จะช่วยปรับสภาพดินให้มความเป็นด่างเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ในขี้เถ้ายังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแคลเซียม ที่จะช่วยเร่งดอกไม้ให้บานสะพรั่ง
.
4. ✅ วัชพืช
ถึงแม้ว่าวัชพืชจะเป็นศัตรูตัวฉกาจของต้นไม้ แต่บางชนิดก็สามารถนำมาใช้บำรุงดินได้ เช่น ต้นตำแย โดยนำต้นที่ไม่มีดอกไปตากแดดให้แห้งทั้งต้นและราก เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโตได้อีก แล้วนำไปคลุมหน้าดิน ก็จะช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้กับต้นไม้ได้ หรือจะเป็นผักตบชวา ที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง และธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสอยู่พอประมาณขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่ขึ้น นำมาหมักทำเป็นปุ๋ย หรือ นำไปคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นไว้ในดิน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็จะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชต่อไป
.
5. ✅ เปลือกไข่
ถึงแม้ในเปลือกไข่จะมีโพแทสเซียมและไนโตรเจนไม่เยอะเท่ากับของเหลือใช้อื่น ๆ แต่เปลือกไข่ถือเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดีเลยทีเดียว แถมยังช่วยป้องกันไม่ให้หอยทากมากัดกินต้นไม้ของเราได้ด้วย โดยการทำความสะอาดเปลือกไข่ ตากให้แห้ง นำมาบดให้ละเอียดและโรยรอบ ๆ ต้นไม้ หรือ แปลงผัก
.
6. ✅ เปลือกหอยนางรม
นำเปลือกหอยนางรมมาทำเป็นปุ๋ยละลายช้าได้ ซึ่งจะเหมาะมาก ๆ สำหรับต้นไม้ที่ต้องการดินที่มีความเป็นด่าง เพราะในเปลือกหอยนางรมมีแคลเซียมคาร์บอเนต สารอาหารที่ช่วยปรับให้ดินเป็นด่าง ส่วนวิธีก็คล้าย ๆ กับการใช้เปลือกไข่เลยก็คือ นำเปลือกหอยนางรมมาทำความสะอาดและบดให้แตกละเอียดแล้วนำไปโรยรอบ ๆ ต้นไม้เท่านั้นเอง
.
7. ✅ น้ำจากตู้ปลา
เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนน้ำในตู้ปลา สามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ได้้้้้้ เพราะน้ำในตู้ปลามีสารอาหารที่ช่วยบำรุงดินและต้นไม้อยู่เพียบ ไม่ว่าจะเป็นไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม แต่ทั้งนี้ควรเป็นน้ำที่ไม่มียาปฏิชีวนะหรือยาอื่น ๆ เจือปน เพราะสารจากยาเหล่านี้จะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียดี ๆ ในดินนั่นเอง
.
8. ✅ ใบชา
แนะนำให้เลือกถุงชาที่ทำจากกระดาษ ผ้าไหม หรือผ้ามัสลิน เพราะวัสดุเหล่านี้สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ แต่ถ้าหากเป็นถุงชาพลาสติกประเภทโพลีโพรพิลีน (Polypropylene) ให้ตัดถุงแล้วเอาเฉพาะกากใบชามาใช้แทน จากนั้นนำไปคลุกกับดิน ก็จะช่วยเพิ่มสารอาหารต่าง ๆ ทั้งออกซิเจนที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ไนโตรเจนที่ช่วยปรับคาร์บอนให้สมดุลลดการเกิดวัชพืช นอกจากนี้ยังมีสารแทนนินที่ช่วยบำรุงต้นกล้าให้เจริญเติบโตแข็งแรงด้วย
.
นอกเหนือจากวัตถุดิบข้างต้นแล้ว ยังมีการนำขยะสด หรือ เศษอาหาร นำไปหมักทำเป็นปุ๋ยได้อีกทาง

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.kasetsanjorn.com/3394/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย