Top
โรคยอดฮิตในมะละกอ

โรคยอดฮิตในมะละกอ
สภาพอากาศที่มีฝนตกชุกสลับกับอากาศร้อนอบอ้าว เอื้อต่อการเจริญเติบโตของศัตรูพืช โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชในมะละกอ โดยจะมีโรคหลักๆ อยู่ 3 โรคด้วยกัน 
.....................................


"โรครากเน่า โคนเน่า"
 เป็นหนึ่งโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ ต้องปวดหัว เมื่อเกิดโรคขึ้นมาในแปลงปลูกมะละกอ


สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค

เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค: เกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium aphanidermarum (Edson) Fitz)และไฟท๊อปธอร่า (Phytophthora palmivora Butl.) มักระบาดอย่างรุนแรงในฤดูฝน คือ เดือนมิถุนายนถึงประมาณสิงหาคม โรคนี้เมื่อระบาดแล้วอาจจะเป็นหมดทั้งสวนได้ 

ลักษณะอาการหลัก: ใบมะละกอเหี่ยวแห้งตายและร่วง ลำต้นกล้าแห้งตายอย่างรวดเร็วเมื่อถอนดูจะไม่มีระบบรากเหลืออยู่ ในมะละกอต้นโตจะแสดงอาการรากเน่า ทำให้ก้านใบลู่ลง ใบเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็วทำให้เหลือแต่ยอดซึ่งมีก้านใบสั้นๆ 

ผลมะละกอจะเหี่ยวหรือสุกเหลืองก่อนแก่ และมีเส้นใยของเชื้อราเจริญคลุมผล ต่อมาโคนจะเยิ้มแฉะ เนื้อเยื่อชุ่มน้ำสีน้ำตาลเปื่อยยุ่ย เมื่อสภาพอากาศชื้นจะมีเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญฟูที่ผิวทำให้ลำต้นหักพับที่บริเวณโคนได้ง่าย 

การแพร่ระบาดของเชื้อราทางดินในสภาพอากาศที่มีน้ำขัง และมีสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราพิเทียมและเชื้อไฟท๊อปธอร่า ในดินจะทำให้ต้นกล้าตายในช่วงระยะก่อนและหลังงอก เชื้อราจะเข้าทำลายรากและลุกลามสู่โคนต้น

การควบคุมและป้องกันโรค

จากการศึกษาของนักวิชาการ ของกรมวิชาการเกษตร แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ

  • ควบคุมทางชีววิธีโดยเพิ่มจุลินทรีย์ในดินหลุมปลูก เช่น นำดินที่ไม่เป็นโรคมาใส่หลุมปลูก หรือหมักปุ๋ยหมักกับเศษพืชคลุกดินรองก้นหลุมก่อนปลูกเป็นวิธีที่ได้ผลดี เพื่อควบคุมเชื้อราไฟท๊อปธอร่า 
  • การทำให้ดินร่วนซุย ไม่มีน้ำขัง และลดสภาพความเป็นกรดของดินจะข่วยลดปัญหาโรครากเน่าและโคนเน่าได้
  • การปลูกมะละกอจำเป็นต้องมีระบบการระบายน้ำที่ดี ถ้าเป็นพื้นราบลุ่ม และระดับน้ำใต้ดินตื้นจำเป็นต้องยกแปลงให้สูงจากระดับน้ำทำคันป้องกันน้ำท่วม น้ำท่วมขังทำให้รากพืชขาดอากาศในดิน เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ง่าย  เป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดและระบาดของโรค วิธีการนี้จะใช้ได้ผลดีกับโรครากเน่า โคนเน่าระดับดินของกล้าพืช โดยปรับระยะห่างปลูกพืชให้ถูกต้องโดยมีการถ่ายเทอากาศที่ดี สภาพของดินมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ขังหรือดินเปียกเกินไป เป็นต้น

การใช้สารเคมีในการป้องกัน

  • ใช้ "คิวโปรฟอส 400 (ฟอสฟอรัส แอซิด 40% W/V)" อัตรา 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อเริ่มพบเห็นอาการการเข้าทำลายของเชื้อรา
  • ใช้ "ฟิกเซอร์ 408" อัตรา 2-4 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับคิวโปรฟอส 400 เพื่อส่งเสริมให้ตัวยาสามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้ไวและดีขึ่้น

.....................................


"โรคแอนแทรคโนส"
 เป็นอีกโรคที่ผู้ปลูกมะละกอไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อเกิดโรคในแปลงปลูกขึ้นมาแล้วจะทำความเสียหายให้กับผลผลิตเป็นอย่างมาก


สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค

เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งจะเข้าทำลายทั้งใบอ่อนและผล เชื้อราจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อตามผล กิ่งก้านที่เป็นโรค โดยลมฝน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอก และแทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น และจะเจริญฟักตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ผิวมผลมะละกอ จนเริ่มสุกจึงจะเกิดอาการของโรค

เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค: Colletotrichum gloeosporioides

ลักษณะอาการหลัก: 
ใบ 
จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจางและมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวฯแผล ซึ่งคื่อส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา

ผล จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว และมีความชื้นสูง เชื้อสาเหตุของโรคจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อน และฟักตัวยังไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฎอาการเมื่อผลมะละกอสุก

การควบคุมและป้องกันโรค

แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ

  • เก็บทำลายใบแห้งที่ร่วง หรือใบที่เป็นโรค โดยเผาทำลาย เพื่อตัดต้นตอของการระบาดของเชื้อโรคต่างๆ 
  • งดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูง เช่นปุ๋ยยูเรีย ในช่วงนี้ เพราะปุ๋ยไนโตรเจนจะกระตุ้นให้เชื้อราโรคพืชอื่นๆและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายซ้ำซึ่งพืชยังมีความต้านทานต่ำ
  • เกษตรกรควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

การใช้สารเคมีในการป้องกัน

  • ใช้ "โกลด์ทิป 76 (ซีแรม 76% WG)" อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 10-15 วัน ตั้งแต่ระยะแทงช่อดอก หรือเริ่มติดผล โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศอบอ้าวหรือความชื้นสูง
  • ใช้ "ฟิกเซอร์ 408" อัตรา 2-4 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับคิวโปรฟอส 400 เพื่อส่งเสริมให้ตัวยาสามารถดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้ไวและดีขึ่้น

.....................................

 

"โรคใบด่างจุดวงแหวน" เป็นโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ มักเป็นกังวลอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ จะสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก 

สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค

เกิดจากการที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน หรือแมลงหวี่ขาว ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อเพลี้ยอ่อนย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถูกถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก หลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะติดโรคให้เห็น

แมลงพาหะ: แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน ได้แก่ เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii Glov.) เพลี้ยอ่อนถั่ว (A. craccivora Koch.) และแมลงหวี่ขาว

  

เชื้อไวัสที่เป็นสาเหตุของโรค: Papaya ringspot virus-type P

ลักษณะอาการหลัก: ใบด่างเหลือง หรือใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กลง บิดเบี้ยว เนื้อใบหดหายจนเหลือแต่เส้นใบทำให้มีลักษณะเป็นเส้นบนก้านใบ และลำต้นมีลักษณะเป็นจุดช่ำน้ำหรือเป็นทางยาวสีเขียวเข้ม ต้นแคระแกร็นใบแก่ร่วงหมดจนเหลือแต่ใบยอด ผิวของผลมะละกอเกิดแผลจุดกลมเป็นวงซ้อนๆ กันกระจายทั่วทั้งผล มะละกอที่รับเชื้อตั้งแต่ระยะยังเป็นต้นอ่อนมักไม่ติดผล

พืชอาศัยของเชื้อไวรัสชนิดนี้ เช่น แตงป่า ฟักแฟง บวบ แตงต่าง ๆ หรือ ตำลึง

การควบคุมและป้องกันโรค

จากการศึกษาของนักวิชาการ ของกรมวิชาการเกษตร แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ

  • ไม่ควรปลูกมะละกอไว้นานเกิน 2 ปี เพราะผลผลิตมะละกอจะสูงสุดใน 2 ปีแรกเท่านั้น นอกจากนี้มะละกอต้นแก่ยังเป็นแหล่งสะสมโรคทำให้แพร่ระบาดไปยังต้นปลูกใหม่ได้ พลิกดินขึ้นใหม่ให้โดนเเดดประมาณ 3 เดือน ก่อนที่จะลงปลูกมะละกอชุดใหม่
  • ตัดทำลายมะละกอที่แสดงอาการเป็นโรคใบด่างทิ้งทันทีที่สังเกตเห็น ถ้ากรณีเกิดการระบาดหนักมาก อาจต้องโค่นต้นที่เป็น และนำไปเผาทำลาย
  • ในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเพียงพอ หรือดินที่มีความชื้นพอ ถ้าปลูกมะละกอในช่วงปลายฤดูฝน หรือช่วงหน้าแล้งตั้งแต่เดือนกันยายน – มีนาคม จะทำให้การระบาดของโรคน้อยลง พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลดี
  • ดูแลและบำรุงต้นมะละกอให้ดีจะทำให้ต้นแข็งแรง ได้ลูกเร็วสามารถลดการทำลายของโรคลงได้ มะละกอเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยดีมาก ดังนั้นการบำรุงด้วยปุ๋ยเคมีจึงได้ผลคุ้มค่า ผลดก และรสชาติดี
  • ปลูกมะละกอพันธุ์ทนทานโรค เช่น พันธุ์ฟลอริด้าทอเลอแร้นท์  ซึ่งเป็นมะละกอพันธุ์รับประทานผลสุก ผลมีลักษณะกลม เล็ก น้ำหนักผลประมาณ 400-700 กรัม/ ลูก

การใช้สารเคมีในการป้องกัน

  • ใช้ "วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาคลอพริด 10%)" อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว ในช่วงที่ยังไม่มีการติดดอก
  • ใช้ "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 2-3 อาทิตย์ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อไวรัสสาเหตุโรค
บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล