Top
โรคราแป้งในเงาะ

สภาพอากาศกลางวันอากาศแห้ง แดดแรง และลมแรง ขอให้เกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะสร้างช่อดอกและเริ่มติดผลอ่อน 

โรคราแป้ง Powdery mildew 
» เชื้อราสาเหตุ : Oidium nepheli Kunz.
» เป็นโรคที่สำคัญพบได้ทั่วไป รากลุ่มนี้สามารถพัฒนาและก่อให้เกิดโรคได้ดีในช่วงฤดูแล้งที่มีอากาศค่อนข้างเย็นหรือมีความชื้นสูงในช่วงเช้าหรือกลางคืน และ กลางวันร้อนจัด
» สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ระบาดไปตามลม โดยผงสีขาว ซึ่งก็คือ กลุ่มของเช ื้อราฟุ้งกระจายไปตามลม ทําลายดอก และผลอ่อน

-------------------------------------------------------
ลักษณะอาการ
»  อาการพบโดยเริ่มแรกจะพบผงสีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะบนช่อดอกและตามร่องขนของผลเงาะ ทำให้ต้นเงาะติดผลน้อยหรือไม่ติดผล กรณีที่ต้นเงาะติดผลจะมีผลขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ ผลหลุดร่วงง่าย หรือผลเน่าแห้งติดคาที่ก้านช่อ
»  หากเป็นโรคราแป้งในระยะผลโต จะทำให้ขนที่ผลแห้ง แข็ง ผิวผลมีสีคล้ำไม่สม่ำเสมอ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ขนกุด เรียกว่า เงาะขนเกรียน
»  สำหรับในระยะที่ผลเงาะกำลังสุกส่วนที่มีเชื้อราปกคลุมจะมีสีซีดกว่าปกติผลเงาะท ี่ เก็บเกี่ยวจะมีสีเหลือง ขน เกรียนสั้น หรืออาจจะทําให้สีซีดลงไม่เข้มเท่าผลปกติ อาจพบอาการของโรคได้ที่ส่วนยอดและใบ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วงได้
-------------------------------------------------------
วิธีดูแลป้องกัน
เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก อย่าให้มีใบแน่นทึบจนเกินไป เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
ถ้าพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
 กรณีพบการระบาดของโรคราแป้ง ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรฉีดพ่น 10 วัน/ครั้ง

▶️ โกล-โทเป้ (สารฟอลเพต 50%WP) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
▶️ เทอเรโน (สารซัลเฟอร์ 80% WP) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
-------------------------------------------------------

หมายเหตุ
สำหรับสารซัลเฟอร์ ไม่ควรพ่นในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนหรือมีแดดจัด เพราะอาจทำให้เกิดอาการไหม้ที่ช่อดอกและผลอ่อนได้
และควรหยุดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 15 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารในช่วงที่ดอกเงาะบานหรือเริ่มติดผลอ่อน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสร

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ