Top
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม

มาดูแมลงและโรคพืชที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มต้องระวัง ว่ามีอะไรบ้าง

1. เพลี้ยไฟ (Thrips)
เพลี้ยไฟ ในส้ม คือ เป็นแมลงศัตรูส้มจำพวกปากดูดที่สำความเสียหายกับพืชตระกูลส้มทั้งส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว เป็นต้น เพลี้ยไฟชนิดที่มักจะระบาดรุนแรงและต้านทานต่อสารเคมี(ดื้อยา)มากคือ เพลี้ยไฟพริก ซึ่งเป็นชนิดที่มีพืชอาศัยอยู่มากมาย เช่น มะม่วง พืชตระกูลส้ม ทุเรียน มะละกอ มังคุด เงาะ องุ่น สตรอเบอรี่ พืชตระกูลพริก ถั่วลิสง

ลักษณะการเข้าทำลาย
"เพลี้ยไฟ" ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟใช้ปากที่เป็นแท่ง (stylet)เจาะและดูดน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกส้ม โดยเฉพาะในระยะยอดอ่อนและผลอ่อน ทำให้ใบมีลักษณะผิดปกติ ใบแคบเรียวและหยาบกร้าน ถ้าการทำลายในระยะผลอ่อนตั้งแต่กลีบดอกร่วงจนผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5ซม. ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะปรากฏเป็นวงสีเทาเงินบริเวณขั้วผลและก้นผล หรือเป็นทางสีเทาเงิน ตามความยาวของผล ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น เมื่อผลโตจะเกิดแผลเป็นคล้ายขี้กลากสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป ทำให้ผลผลิตไม่สวย ส่งผลให้ราคาตกต่ำ

เพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้นและมีพืชอาศัยมากมาย จึง มีการระบาดตลอดปีช่วงเวลาการระบาดมักระบาดรุนแรงเมื่ออากาศร้อนแห้งแล้ง และฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในระยะการแตกใบอ่อนและออกดอกของส้ม

 
วิธีป้องกันกำจัด
✅
 เพื่อป้องกันเพลี้ยไฟดื้อยา เนื่องจากเพลี้ยไฟใช้เวลาประมาณ 15 วัน ก็ออกลูกหลานได้ ดังนั้นให้ใช้สารกลุ่มที่มีกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 15 วัน จากนั้นรอบ 15 วันถัดไปให้เปลี่ยนกลุ่มสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มอื่น
✅ ฉีดพ่น วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาคลอพริด10% SL) อัตรา 20 ซีซี สลับใช้กับ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันแมลงดื้อยา

-----------------------------
 
2. ไรแดงแอฟริกัน (African red mite)
 ไรแดง ระบาดในระยะที่ฝนเริ่มทิ้งช่วง อากาศแห้งแล้งและมีลมพัดแรง จะพบไรแดงสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จากนั้นไรแดงจะค่อยๆ ลดลง ปริมาณอาจสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งแล้งจัด และพบระบาดน้อยมากในช่วงฤดูฝน
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
ไรแดงแอฟริกัน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณหน้าใบ ในระยะเพสลาด โดยไม่สร้างเส้นใย หากการทำลายรุนแรงอาจพบได้ทั้งบนและใต้ใบรวมทั้งผลส้มด้วย ใบส้มที่ถูกทำลายจะมีสีจางลงและมักพบคราบเก่าของไรแดงสีขาวคล้ายฝุ่นเกาะบนใบ ส่วนของผิวส้มที่ถูกทำลายจะเป็นรอยประสีขาวจางๆกระจายอยู่ทั่วไป ถ้าการทำลายรุนแรงและต่อเนื่องในช่วงผลเล็ก อาจทำให้ผผลหลุดร่วง

ไรแดงแอฟริกันอาศัยพืชตระกูลต่างๆ ได้แก่ พืชตระกูลส้ม ทุเรียน มะละกอ สาเก ข้าว มะกอก ฝรั่ง ขี้เหล็ก แคฝรั่ง มะรุม ฝ้ายคำ สุพรรณิการ์ มันสำปะหลัง ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะกรูด ขนุน ละหุ่ง แตงโม ถั่วลันเตา ตำลึง ผักบุ้ง ลั่นทม ลีลาวดี บานชื่น ชบาแดง
 
การป้องกันกำจัด
✅ หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันในสวนส้มหรือบริเวณใกล้เคียง ถ้าเกษตรกรมีรายได้ จากพืชเหล่านั้น เช่น มะละกอ มะนาว หรือพืชตระกูลถั่ว ก็ควรป้องกันกำจัดไรแดงชนิดนี้บนพืชอาศัยนั้นด้วย
✅ ใช้ระบบน้ำเหวี่ยงหรือเครื่องฉีดพ่นน้ า 1 - 2 ชั่วโมงต่อวัน ให้ใบส้มเปียกโชกทั่วทรงพุ่มเพื่อลดปริมาณ ไรแดงในช่วงฤดูแล้งให้อยู่ในระดับต่ำ (วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นให้กับศัตรูธรรมชาติให้ สามารถดำรงชีวิตอยู่และเพิ่มปริมาณสูงขึ้นในช่วงแล้ง ซึ่งจะควบคุมประชากรของไรแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
✅ ฉีดพ่น ไลเซน (เฟนไพรอกซิเมต 5% SC) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั้งต้นโดยเฉพาะบริเวณยอดเมื่อพบไรแดงระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น และงดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการสลับชนิดเพื่อลดการดื้อยาของไรแดง
 
-----------------------------
 
3. หนอนชอนใบส้ม (Citrus Leafminer)
หนอนชอนใบส้ม คือแมลงศัตรูพืชมีลักษณะการทำลายพืชเป็นรอยคดเคี้ยวบนใบ นิยมเรียกว่าหนอนชอนใบ แมลงชนิดนี้ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
ระยะหนอนเป็นระยะที่เป็นศัตรูที่สำคัญของพืชตระกูลส้ม (Rutaceae) เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะกรูด มะนาวนอกจากนี้มีรายงานว่าทำลายใบมังคุด มะลิลา และพืชตระกูลกาฝาก (Loranthus) หนอนจะกัดกินภายใต้ผิวของใบอ่อนและยอดอ่อนโดยหนอนชอนไชอยู่ในระหว่างผิวใบของส้ม หนอนทำลายด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ แต่กรณีระบาดรุนแรงอาจทำลายด้านบนใบด้วย บริเวณที่ถูกทำลายเห็นเป็นฝ้าขาวปรากฏเป็นทางคดเคี้ยววกไปวนมา การระบาดของหนอนชอนใบส้มที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อต้นส้มที่ปลูกใหม่ และกระทบต่อผลผลิตส้ม เนื่องจากหนอนชอนใบส้มทำลายพื้นที่ใบ ส่งผลให้การสังเคาะห์แสงลดลง นอกจากนี้ยังเกิดบาดแผลเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรีย, Xanthomonas axonopodis pv. citri ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคแคงเกอร์อีกด้วย
 
การป้องกันกำจัด
✅ การใช้สารชีวภัณฑ์ "บาเซียโน เอชซี" เป็นเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งมีรายงานทั้งในและต่างประเทศว่ามีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชอนใบส้มได้ แต่ต้องมีการพ่นสารบ่อยครั้งขึ้น
✅ การใช้สารกำจัดแมลง ฉีดพ่น บัคคลิน (อะบาเมกติน 1.8% EC) อัตรา 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาคลอพริด10% SL) อัตรา 20 ซีซี หรือสลับใช้กับ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันหนอนดื้อยา
 
-----------------------------
 
4. โรคแคงเกอร์ หรือ โรคขี้กลากในส้ม (Canker)
โรคแคงเกอร์ หรือ โรคขี้กลาก ในส้ม (Canker) คือ ปัญหาสำคัญของพืชตระกูลส้ม จะพบและเป็นปัญหากระทบถึงผลผลิต ใน ส้มโอ มะนาว และ มะกรูด ส่วนใน ส้มเขียวหวาน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. Citri ( Hasse) Dye เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถระบาดไปตามลมและน้ำ เข้าทำลายพืชเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ในระยะพืชแตกใบอ่อน หรือใบที่เกิดจากการทำลายของแมลง

ลักษณะการเข้าทำลาย
เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และ ผล ของส้ม อาการเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น และตรงกลางแผลจะเห็นเป็นแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อน แผลสะเก็ดนูนนี้ ส่วนมากจะเกิดด้านหน้าใบมากกว่าด้านหลังใบ โดยจะมีวงฉ่ำน้ำใสๆล้อมรอบ เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้น บริเวณแผลตกสะเก็ดตรงกลางแผลก็ขยายขนาดออกด้วย มองเห็นเป็นชั้นซ้อนๆกัน ส่วนด้านหน้าใบ เนื้อใบครงกลางแผลจะแห้งเป็นสีขาวเทา บางครั้งเนื้อใบจะขาดทะลุ ขอบแผลมีสีเข้ม ซึ่งต่อมาใบจะเหลืองแห้งและหลุดร่วงไป โรคบนผล ระยะเริ่มแรกเกิดแผลสีน้ำตาลอ่อนรูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีลักษณะฉ่ำน้ำรอบแผล ส่วนแผลขนาดใหญ่ที่เกิดบนผลจะแตกบริเวณกลางแผล และแผลยุบตัวลงไป ผลที่เป็นโรคมากๆ อาจจะร่วงหล่น
 
การป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่น เวโล อัตรา 20-30 ซีซี ผสม ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร หากฉีดตั้งแต่เริ่มพบอาการจะทำให้ควบคุมโรคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
-----------------------------
 
5. โรคสแคป 
เกิดจากเชื้อรา Elsinoe fawcettii Bitanc& Jankins
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
โรคสแคปของส้ม เกิดจากเชื้อรา ชอบอากาศเย็น พบมากบนพื้นที่ปลูกส้มที่อากาศเย็น จะมีลักษณะคล้ายโรคแคงเกอร์ คือจุดแผลนูน พบบนใบอ่อนส้มที่แตกใหม่ แต่มีความแตกต่างที่รอยแผล โดยโรคสแคป จะไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลบนใบ จะเกิดตุ่มนูนด้านหลังใบ ส่วนหน้าใบแผลจะบุ๋มลงพบการแพร่ระบาดช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
 
การป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่น โกลด์ทิป 76 อัตรา 20-30 กรัม ผสม ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้ตั้งแต่ระยะแรกที่เจออาการของโรค จะควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
-----------------------------
 
6. โรคเมลาโนส
กลุ่มโรคเมลาโนส เป็นกลุ่มโรคสำคัญโรคหนึ่งของส้มที่พบระบาดในสวนส้มบ่อยมาก โรคกลุ่มนี้จะทำให้ใบส้มเหลือง หลุดร่วง ต้นส้มทรุดโทรม ผลผลิตลดลง ในแหล่งปลูกส้มบริเวณภาคกลางสามารถพบโรคส้มในกลุ่มนี้ได้ตลอดปีโดยระบาดรุนแรงในส้มเขียวหวาน  ส้มตรา(ส้มเช้ง) ส้มโอและมะนาว จะพบในส้มต้นโตหรือมีอายุมากกว่าในส้มต้นเล็กหรือเพิ่งปลูก ซึ่งกลุ่มโรคเมลาโนส แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ โรคเมลาโนส เชื้อรา  Diaporthe citri, โรคกรีสซีเมลาโนส เชื้อรา Cercospora citri, โรคใบปื้นเหลือง เชื้อรา Cercospora citri
 
นอกจากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว อาจพบโรคอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “โรคสตาร์เมลาโนส หรือ โรคเมลาโนสรูปดาว” เป็นโรคที่เกิดบนใบทีเกิดโรคเมลาโนสแล้วมีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชพวกสารประกอบของคอปเปอร์ ไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อเกิดโรคเมลาโนสระบาดแล้ว ใช้สารในอัตราที่เข้มข้นเกินไป หรือใช้ฉีดพ่นบ่อยเกินไป จะทำให้แผลจุดนูนของโรคเมลาโนสแตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลมีลักษณะเป็นแฉกๆ คล้ายรูปดาว ขนาดของแผลมีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดยทั่วไปโรคนี้จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก ยกเว้นกรณีที่เกิดแผลบนผลส้ม อาจเป็นสาเหตุทำให้ผลส้มแตกได้
 
การป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ซอร์บา (อะซอกซีสโตรบิน 25%W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ผสมร่วมกับฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิการดูดซึมและแผ่กระจายของยา ฉีดพ่นห่างกัน 7-10 วัน/ครั้ง เพื่อป้องกันโรค และ 5-7 วัน/ครั้ง เมื่อพบการระบาดของโรค ควรฉีด 2-3 ครั้งติดต่อกัน เพื่อหยุดการระบาดของโรค
✅ ใช้วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาคลอพริด 10% W/V SL) กำจัดเพลี้ยไฟก่อนที่จะกำจัดเชื้อราโดยฉีดพ่น 3 ครั้งติดต่อกันห่างกัน 3 วัน

*ในการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลงศัตรูพืช ควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบ ซึ่งเป็นที่ที่มีการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช

 -----------------------------
 
7. โรครากเน่า โคนเน่า ในส้ม (Root and Stem Rot)
โรครากเน่าโคนเน่าจะเกิดได้กับพืชหลายชนิด สำหรับพืชตระกูลส้มนั้น เดิมจะทำความเสียมากกับ ส้มเขียวหวานและส้มโอ แต่ปัจจุบันนี้จะพบมากในส้มโอ โรคเข้าทำลายต้นส้มได้ตลอดปีถ้ามีการให้น้ำ แต่ระบาดมากในฤดูฝน โรคระบาดมากในดินเปรี้ยว และดินเหนียว สภาพน้ำขัง สภาพต้นไม่สมบูรณ์แข็งแรง ขาดการดูแล และ/หรือ มีผลส้มบนต้นมากเกินไป

ลักษณะการเข้าทำลาย
โรครากเน่า โรคโคนเน่า ส้ม คือ โรคที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica Dastur โรคเกิดได้กับทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะโคนต้นและระบบราก ต้นส้มเป็นโรคมีอาการทรุดโทรม ไม่สมบูรณ์ แข็งแรง แตกใบอ่อนน้อย แสดงอาการใบเหลืองหรือเหลืองซีดโดยเฉพาะเส้นกลางใบ ต้นที่เป็นโรครุนแรงแสดงอาการใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ใบและผลอาจร่วงและกิ่งแห้ง อาจพบแผลบริเวณโคนต้นหรือกิ่ง โดยส่วนเปลือกปริแตกมีสีคล้ำ ฉ่ำน้ำและอาจมียางไหลจากรอยแผล เมื่อถากเปลือกตรงรอยแผลออกจะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล หรือน้ำตาลแดง รากที่เป็นโรคจะมีเปลือกเป็นแผลเน่าและส่วนเนื้อรากตรงรอยแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง

การป้องกันกำจัด
✅
 ใช้ คิวโตฟอส (ฟอสฟอนิก แอซิด) ใช้อัตรา 1:1 คิวโปรฟอส 400 อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำกลั่น 100 ซีซี หรือ ริดโดมิล โกลด์ (แมนโคเซบ 64% + เมทาแลกซิล-เอ็ม 4%) อัตรา 250 กรัม + น้ำ 1 ลิตร+ ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2-3 ซีซี ฉีดพ่นหรือทาบริเวณแผลที่มีการถากเปลือกด้านนอกออกไปแล้ว 


-----------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล