Top
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก

เกษตรกรปลูกพริกควรเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสระบาด ซึ่งเมื่อโรคเกิดการระบาดแล้วจะควบคุมได้ยาก

สำหรับโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ที่สำคัญของพริกได้แก่
1. โรคใบด่าง พบต้นพริกเตี้ย แคระแกร็น ใบมีอาการด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน บิดเบี้ยว ผิดรูปร่างและลดขนาดเรียวเล็กลง อาจพบจุดแผลตายเฉพาะแห่งสีน้ำตาลบนใบ ดอกหลุดร่วงง่าย ผลมีผิวขรุขระ ขนาดเล็กลง และอาจพบอาการด่างบนผลพริก
2. โรคเส้นใบด่างประ พบอาการใบด่างสีเขียว หรือเหลืองสลับเขียวเข้ม และมีขีดหรือจุดประสีเขียวเข้มตามเส้นกลางใบ ใบลดรูป มีขนาดเล็กลงและบิดเบี้ยว ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า ต้นจะแคระแกร็น แตกกิ่งด้านข้างลดลง ติดดอกน้อยลง ดอกร่วงก่อนติด ผล หากติดผลผลจะมีขนาดเล็ก ด่างและบิดเบี้ยว
3. โรคใบหงิกเหลือง พบอาการใบด่างเหลือง เป็นขีดหรือหย่อมโปร่งแสงระหว่างเส้นใบ บางครั้งเส้นใบย่อยมีสีเหลืองและสานเป็น ร่างแหบริเวณโคนใบ ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก ต้นแคระแกร็น ผลพริกด่าง บิดเบี้ยว และมีขนาดเล็กผิดปกติ

การควบคุมและการป้องกันกำจัด
1. ใช้พันธุ์พริกที่ต้านทานโรค
2. ไม่นำผลพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะขยายพันธุ์ โรคพริกที่เกิดจากเชื้อไวรัส 
3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือกกล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก
4. หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบพริกที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและนำไปเผาทำลายนอกแปลงทันที
5. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้ง สาบกา กะเม็ง หญ้ายางและกระทกรก
6. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น มะเขือต่างๆ ยาสูบ แตงกวา ฟักทอง บวบเหลี่ยม และ มะระจีน ในแปลงปลูกเดียวกัน
7. ไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่สามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้พืชแข็งแรงขึ้นได้ด้วย
     > ฉีดพ่นสารเวโล อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 10-15 วัน/ ครั้ง เพื่อช่วยให้พืชแข็งแรงป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืชได้
8. ป้องกันการระบาดของโรคได้ โดยพ่นสารกำจัดแมลงพาหะนำโรค ดังนี้
     > แมลงหวี่ขาว ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 
     > เพลี้ยอ่อน ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน่ำ 20 ลิตร 


บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล