Top
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศร้อนและแห้งในช่วงกลางวัน และอากาศชื้นในช่วงกลางคืนหรือมีหมอกในช่วงเช้ามืด จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อราสาเหตุโรคพืชบางชนิดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวันนี้เรามีตัวอย่างโรคพืชที่มักพบบ่อยในช่วงหน้าหนาวมาฝากกัน

1. โรคเน่าคอดิน (damping-off)
เกิดจากเชื้อรา Pythium spp. ที่เกิดกับต้นอ่อนของผัก ตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักฮ่องเต้ กวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหางหงษ์ และผักกาดหัว 
ลักษณะอาการของโรค เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว บริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินมีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเกิดเป็นแผลเน่าลาม ทําให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้น หักล้มและตายก่อนจะแตกใบจริง บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทําลายเมล็ดก่อนงอกพ้นดิน ทําให้เมล็ดไม่งอกหรืองอกออกมาแต่ไม่มีใบเลี้ยง

✅ หากเริ่มพบการระบาดของโรคในแปลงปลูก ให้ฉีดพ่นด้วย "คิวโตฟอส" (ฟอสฟอนิก แอซิด) อัตรา 30 ซีซี ผสม "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และเพื่อให้สารที่ฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรฉีดร่วมกับ ฟิกเซอร์ 408 ในอัตรา 2 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร 

2. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)
เกิดจากเชื้อรา Peronospora destructor (Berk.) Casp หรือ Plasmopara viticola (ราน้ำค้างในองุ่น) ลักษณะอาการ จะเริ่มจากการมีแผลสีเหลืองบนผิวใบ ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และผิวบริเวณจะแห้ง หากมีความชื้นในอากาศสูงจะมีเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณแผล และถ้าเชื้อราขยายตัวเป็นวงกว้าง จะทำให้ใบแห้ง อาจจะทำให้ใบที่เป็นหลุดร่วงได้

✅ สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการฉีดพ่น "ซอร์บา" (สารอะซอกซีสโตรบิน 25% W/V SC) ในอัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ "คิวโตฟอส" (ฟอสฟอนิก แอซิด) ในอัตรา 30-40 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร และเพื่อให้สารที่ฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรฉีดร่วมกับ ฟิกเซอร์ 408 ในอัตรา 2 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค

3. โรคราแป้ง  (Powdery mildew)
เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. สามารถพบได้ในพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น เงาะ องุ่น สตรอเบอร์รี่ พืชตระกูลแตง อาการพบได้ที่ใบด้านล่างก่อนแล้วจึงลามขึ้นสู่ใบด้านบนในระยะแรก จะเห็นเส้นใยสีขาวของเชื้อรามีลักษณะคล้ายผงแป้งโรยอยู่บนใบมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า เชื้อราจะเจริญได้รวดเร็วและแพร่กระจายเต็มไปหมดทั้งใบ รวมทั้งใบบน ๆ ก็สามารถเป็นโรคได้ ใบที่เป็นโรคจะสังเกตเห็นได้ว่าที่ผิวใบจะมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้ง แต่เซลล์ของใบจะเป็นสีน้ำตาล และต่อมาจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม จนในที่สุดใบจะแห้งตายไป อาการของโรคสามารถพบได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ


✅ สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการฉีดพ่น "โกล-โทเป้" (สารฟอลเพต 50% WP) ในอัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร หรือสลับใช้กับ “เทอเรโน” (กำมะถัน 80% WG) อัตรา  20-30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร และเพื่อให้สารที่ฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรฉีดร่วมกับ ฟิกเซอร์ 408 ในอัตรา 2 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค

4. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
เกิดจากเชื้อ " Colletotrichum glorosporiodes" สามารถเข้าทำลายต้นพืช ได้แก่ ไม้ผล มะม่วง ลำไย ทุเรียน ผักกินใบ พริก กุหลาบ ฯลฯ และสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จะเกิดได้ทั้งที่ใบ ผล และดอก โดยลักษณะแผล จะเป็นจุดฉ่ำน้ำเป็นวงกลม และจะขยายวงกว้างขอบแผลจะเป็นสีนำตาลเข้ม

ลักษณะอาการการเข้าทำลาย
- ใบ ส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณใบอ่อน ใบจะมีลักษณะจุดวงกลมฉ่ำน้ำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม หากเกิดเป็นจำนวนมาก จะมีผลทำให้ใบเจริญผิดรูปมีอาการบิดงอได้
- ดอก ถ้าเชื้อเข้าทำลายที่ดอก จะทำให้ดอกและก้านดอกเป็นจุดสีดำ หากเป็นมากจะส่งผลให้มีการหลุดล่วงของดอก
- ผล ถ้าเชื้อเข้าทำลายที่ผล จะเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำที่ผล และแผลจะขยายวงกว้างจนทำให้ผลเน่าในที่สุด

✅ สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการฉีดพ่น "โกลด์ทิป 76" (สารซีแรม 76% WG) ในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ "อะตาร์เอฟ" (คลอโรทาโลนิล 50% W/V SC + อะซอกซีสโตรบิน 6% W/V SC) สามารถฉีดพ่นได้ตั้งแต่ยังไม่พบอาการ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส โดยฉีดพ่น ทุก 7-10 วันในช่วงที่สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของโรค หรือ ฉีดพ่นต่อเนื่อง ทุก 5-7 วัน เมื่อพบการระบาดของโรค

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล