Top
โรคพืชในทุเรียน

โรคพืชที่สำคัญในทุเรียน ที่เกษตรกรทุกคนต้องรู้ และต้องระวังไม่ให้เกิดการระบาดในสวนทุเรียน มีดังนี้

1. โรครากเน่าโคนเน่า (Root and Foot Rot)

สาเหตุ : เชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmovora (Butler) Butler)

ลักษณะอาการ 
เกิดอาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติด เห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหล ออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่ง และน้ำยางนี้จะค่อยๆ แห้งไปในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อถากเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยาง จะเห็นเนื้อเยื่อ เปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนอาการเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื่อ รากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย

ส่วนอาการที่ใบ ใบจะไม่เป็นมันสดใสเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่างๆ จะเริ่มเป็นจุดประเหลืองแล้วค่อยๆ หลุด ร่วงไป ต้นทรุดโทรมและตาย

การแพร่ระบาด
เชื้อราไฟทอปธอร่าจะพักตัวในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ น้ำและความชื้นเพียงพอก็สามารถงอกเป็นเส้นใยสร้างอวัยวะขยายพันธุ์ ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามน้ำเข้าทำลายรากพืช นอกจากนี้เชื้อรายังแพร่ระบาดได้โดยลม และน้ำท่วมหรือติดไปกับดินปลูก กิ่งพันธุ์ได้

การป้องกันกำจัด
✅ เก็บชิ้นส่วนของเปลือกหรือผลที่เน่าร่วงหล่นออกนอกแปลง แล้วทำการเผาทำลายถากส่วนที่เป็น โรคออกให้หมดจนถึงเนื้อไม้แล้วทารอยแผลด้วยปูนแดง หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทสารประกอบ ทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์

✅ ถากเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นโรคออกบาง ๆ แล้วทาด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น เมตาแลกซิล ฟอสเอสเอทธิล อลูมินั่ม เป็นต้น

✅ฉีดพ่นด้วย "คิวโตฟอส" ซึ่งเป็นสารฟอสฟอรัสแอซิด (phosphorous acid) โดยผสมกับน้ำสะอาดในอัตรา 1: 1 เช่น คิวโตฟอส 20 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

✅ ลดปริมาณเชื้อราในดินโดยการใส่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ใส่ในดิน เช่น เชื้อราไตรโคเดอมา (Trichoderma sp.) 

-----------------------------

2. โรคใบติด หรือใบไหม้ 

สาเหตุ : เชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.)

ลักษณะอาการ
พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลขยายตัวลุกลามและ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใย ของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งเป็นหย่อม ๆ และใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือ แต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์

การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืช และแพร่ระบาดเข้าทำลายพืช ระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุก

การป้องกันกำจัด
✅ ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้เหมาะสม โดยให้มีความชื้นในทรงพุ่มไม่เหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค

✅ ในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อนควรหมั่นสำรวจอาการของโรค หากพบโรคควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออก และรวบรวมเศษใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูกให้น้อยลง

✅ ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดโรคพืช เช่น "ซอร์บา" สารอะซอกซีสโตรบิน (Azoxystrobin  25% W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ คาร์เบนดาซิม คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ แมนโคแซบ เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา

✅ ในแปลงปลูกที่ความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ เพื่อ ลดความอุดมสมบูรณ์ของการแตกใบ

-----------------------------

3. โรคแอนแทรคโนส 

สาเหตุ : เชื้อราคอลเลโตตริคัม (Colletotrichum gloeosporiodes) 

ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการคล้ายโรคใบติด โดยใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล มักเกิดตามบริเวณขอบใบหรือกลางใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบของแผลจะเป็นสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบแผล เนื้อใบที่ถูกทำลาย จะมองดูโปร่งใส การเกิดโรคมักจะกระจายไปทั่วทั้งต้น ไม่เหมือนโรคใบติดที่มักพบกระจายเป็นหย่อมๆ โรคนี้พบได้ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง แต่มองเห็นอาการได้ชัดเจนในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนกำลัง ออกดอกติดผล

การแพร่ระบาด
มักพบในทุเรียนพันธุ์ชะนี ในพันธุ์หมอนทองพบอาการระบาดบ้างแต่ไม่รุนแรง โดยเชื้อจะแพร่ ระบาดไปตามลมเข้าทำลายพืชเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม

การป้องกันกำจัด
✅ ดูแลต้นทุเรียนให้มีความแข็งแรงโดยการให้น้ำ และธาตุอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงติดผลของทุเรียน

✅ ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดโรคพืช เช่น "ซอร์บา" สารอะซอกซีสโตรบิน (Azoxystrobin  25% W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ "โกลด์ทิป 76" สารซีแรม (Ziram 76% WG) อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ สารเบนโนมิล เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา

-----------------------------

4. ราสีชมพู (Pink Disease)

สาเหตุ : เชื้อราคอร์ทีเซียม (Corticium salmonicolor) 

ลักษณะอาการ
จะเห็นอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา แต่หากสังเกตตามกิ่งด้านในของทรงพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม โคนกิ่งที่แสดงอาการ เมื่อเชื้อเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป เมื่อถากส่วนของกิ่งที่มีเชื้อรา ปกคลุมอยู่จะเห็นเนื้อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล

การแพร่ระบาด แพร่ระบาดมากในสภาพความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด
✅  ควรทำการตัดแต่งกิ่งต้นทุเรียนให้มีทรงพุ่มโปร่งพอสมควร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้

✅  ตัดกิ่งส่วนที่เป็นโรคออก แล้วนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ รอบ ๆ บริเวณรอยตัดของกิ่ง

✅  เมื่อพบเชื้อราเริ่มเข้าทำลายตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ ควรใช้มีดขูดเปลือกกิ่งออกบาง ๆ แล้วทาด้วย "คิวโตฟอส" อัตรา 30 ซีซี ผสมกับ "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทารอบๆ กิ่ง

-----------------------------

 5. โรคราแป้ง (Powdery Mildew)

สาเหตุ : เชื้อราออยเดียม (Oidium sp.)

ลักษณะอาการ 
งเชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้งปกคลุมผิวเปลือกทุเรียน เชื้อสามารถเข้าทำลายผล ทุเรียนได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่จำหน่ายได้ ซึ่งการเข้าทำลายของเชื้อในระยะติดผลใหม่ๆ ก็อาจจะทำให้ผลอ่อนนั้นร่วงหล่นได้ หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโตก็จะทำให้สีผิวของทุเรียนผิดปกติ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง

การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดทางลมในระยะที่อากาศเย็นและแห้งแล้ง

การป้องกันกำจัด
✅ ในแหล่งปลูกที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค เกษตรกรควรตรวจตราผล ทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

✅ ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค "เทอเรโน" ซัลเฟอร์ กำมะถันผงชนิดละลายน้ำ  (Sulfur 80% WG) อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

-----------------------------

6. โรคราดำ (Sooty Mold)

ลักษณะอาการ
ผลทุเรียนมีราสีดำเจริญเป็นจุด ๆ หรือปกคลุมกระจายทั่วผล จุดมักรวมตัวกันทำให้เห็นเป็นปื้นดำ ทำให้ผิวผลทุเรียนไม่สะอาด และมีราคาตกต่ำลง

การแพร่ระบาด
มักพบแมลงจำพวกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง มีการขับถ่ายสารเหนียวๆ ลงบนผล ซึ่งเป็นอาหารของราดำ และมักพบราดำในสภาพความชื้นสูง โดยพบกับต้นทุเรียนที่มีพุ่มแน่นทึบ

การป้องกันกำจัด
✅ ควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ยด้วยสารสกัดสมุนไพรหรือสารกำจัดแมลง "โปรโตคอพ" ไทอะมีทอกแซม(thiamethoxam 25% WG)  อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

✅ พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา "อะตาร์เอฟ" คลอโรทาโลนิล(clorothalonil 50% W/V SC) + อะซอกซีสโตรบิน (azoxystrobin 6% W/V) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

-----------------------------

7. โรคผลเน่า (Fruit Rot)

สาเหตุ : เชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmovora (Butler) Butler)

ลักษณะอาการ
บริเวณปลายผล หรือก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี ไปตามรูปร่างผล แผลดังกล่าวอาจพบได้ตั้งแต่ผลยังคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง ประมาณ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลให้สุก

การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งแก่ โดยเฉพาะเมื่อผลใกล้แก่ จะเป็นช่วงต้นฤดูฝนซึ่งมักจะเกิดลมพายุฝนพัดพาเอาเชื้อที่ติดอยู่กับดินขึ้นไปเกาะติดบนผลทุเรียนที่ติดอยู่ บนต้น และเข้าทำลายทำให้เกิดแผลเน่าได

การป้องกันกำจัด
✅ ทำการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดกับต้นทุเรียนในแปลงปลูกเสียตั้งแต่ในช่วงฤดูฝน เศษชิ้นส่วนพืชที่เป็นโรคจะต้องเก็บออกนอกแปลงแล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูก

✅ หมั่นตรวจตราผลทุเรียนในแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงผลใกล้แก่ หากพบอาการผล เป็นจุดเน่า ควรทำการฉีดพ่นสารเคมี เช่น เมตาแลกซิล 25 %WP หรือ เมตาแลกซิลผสมแมนโคแซป หรือ ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม 80%WP ให้ทั่วทั้งต้นประมาณ 1-2 ครั้ง

✅ ในแปลงปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผลเน่าสูง อันเนื่องมาจากมีต้นที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า ในแปลงมาก และมีฝนตกชุกในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผล เชื้อโรคอาจจะติดมากับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการ จำเป็นต้องจุ่มสารเคมี เช่น ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม ก่อนผึ่งให้แห้งแล้วดำเนินการบรรจุหีบห่อหรือส่งไปยัง จุดหมายปลายทาง

✅ การเก็บเกี่ยวทุเรียนต้องระมัดระวังไม่ให้ผลทุเรียนสัมผัสกับดิน โดยใช้ตะกร้าพลาสติก หรือเข่ง หรือปูพื้นดินที่จะวางผลทุเรียนด้วยกระสอบที่สะอาด เพื่อลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับดิน และการขนย้ายจะต้องระมัดระวังบาดแผลบนผลที่อาจเกิดจากหนามทิ่มแทงกัน

-----------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร
https://www.doa.go.th/share/attachment.php?aid=2976

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล