Top
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?

พี่น้องเกษตรกรหลายคน น่าจะเคยสงสัยว่าเราปลูกพืชชนิดเดิมๆ มานาน อยากเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง แล้วเราจะปลูกอะไรดี หรือเกษตรมือใหม่ทีอยากจะปลูกพืช แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ๆ เราอยู่ควรปลูกพืชอะไรดี

เพื่อให้ง่ายกับการวางแผนการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นเก๋า เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรมือใหม่ มาดูกันว่าในแต่ละภูมิภาคที่เราอยู่ปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง

.

ภาคกลาง - ภูมิภาคแห่งการปลูกข้าว

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคกลาง มีดังนี้

  • ข้าว
  • อ้อย
  • ข้าวโพด
  • ผัก

ภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำเพียงพอ การเลือกปลูกพืชสำหรับภาคกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากให้เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นข้าว ในประเทศไทยนั้นมีพื้นที่กว่า 32 ล้านไร่ที่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว นอกเหนือจากนั้นยังเหมาะกับการปลูกอ้อยและข้าวโพดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทำให้เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด การวางแผนทำการเกษตรในภาคกลางจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

.

ภาคเหนือ - สูงและเย็น คือคำนิยาม

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคเหนือ มีดังนี้

  • ข้าว
  • ลำไย
  • ลิ้นจี่
  • ส้ม
  • สตรอเบอรี่
  • บ๊วย
  • พลับ
  • กีวี่
  • พีช
  • เสาวรส
  • ผักเมืองหนาว

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขา แต่ก็ยังเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวได้อย่างดี โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้ภาคเหนือมีความพิเศษคือสภาพอากาศหนาวเย็น เปิดโอกาสให้เกษตรกรภาคเหนือได้ปลูกพืชเมืองหนาว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองร้อนอย่างไทย เช่นสตรอเบอรี่ บ๊วย พลับ กีวี่ พีช เสาวรส และผักเมืองหนาว เป็นต้น

ถึงอย่างนั้น หากเป็นภาคเหนือบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง อาจต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหลายพื้นที่ก็อาจขาดแคลนน้ำได้ รวมถึงต้องระวังการปลูกพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาวอีกด้วย

.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - แดนดินเค็มและแห้งแล้ง

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

  • ข้าว
  • อ้อย
  • มันสำปะหลัง
  • ข้าวโพด
  • สับปะรด
  • มะพร้าว
  • ลำไย

ถือเป็นภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องสภาพพื้นที่อันโหดร้าย เพราะความแล้งจัดและความเค็มของดินจึงทำให้ยากต่อการเลือกปลูกพืชสำหรับภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทยอย่างข้าวหอมมะลิ การปลูกพืชในภาคอีสานต้องมีการปรับปรุงดินและบริหารจัดการน้ำที่ดี เพราะเสี่ยงภัยแล้งจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่องข้างต่ำกว่าที่อื่น นอกเหนือจากข้าวแล้วยังมีอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด มะพร้าว และลำไย ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลางที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและยาก ยิ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อาจจะยิ่งซ้ำปัญหาดินเค็มมากกว่าเดิม แต่เกษตรกรสามารถทดลองปลูกพืชทนเค็ม จำพวกพุทรา มะขาม หน่อไม้ฝรั่ง ละมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งได้ หรือหากอยู่ในภาคอีสานตอนบนที่ค่อนข้างสูงและเย็น ก็สามารถทดลองปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นกัน

.

ภาคตะวันออก - แดนทุเรียน ถิ่นไม้ผล

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออก มีดังนี้

  • ทุเรียน
  • มังคุด
  • ลำไย
  • อ้อย
  • มันสำปะหลัง
  • ข้าวโพด
  • สับปะรด
  • ยางพารา

หากพูดถึงภาคตะวันออก หนึ่งในจังหวัดที่นิยมปลูกไม้ผลที่สุดคงไม่พ้นจังหวัดจันทบุรีและระยอง ที่มีชื่อเสียงจากทุเรียน เนื่องจากเป็นภาคที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง แต่นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด และยางพาราก็เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเช่นกัน

แม้จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกไม้ผล แต่เพราะสภาพอากาศฝนตกชุกของภาคตะวันออก เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับฝนและความชื้น เช่น โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน ที่มักจะระบาดหนักจากความชื้นในดิน ดังนั้นภูมิภาคนี้ต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ไม่แพ้ภาคอื่นๆเลยทีเดียว

.

ภาคใต้ - พื้นที่มากฝนและพายุ จุดศูนย์รวมปาล์มน้ำมันและยางพารา

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคใต้ มีดังนี้

  • ทุเรียน
  • ปาล์มน้ำมัน
  • ยางพารา
  • เงาะ
  • กาแฟโรบัสต้า

ด้วยสภาพพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันและอ่าวไทย ภาคใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสภาพอากาศโดยรวมคือร้อนชื้น คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลและพืชไร่หลายชนิด แต่หนึ่งในพืชที่เหมาะสมโดดเด่นที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา และเงาะ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงนราธิวาส ทว่านอกเหนือจากพืชสองชนิดนี้แล้ว กาแฟโรบัสต้าเองก็มีความเหมาะสมปานกลางที่จะปลูกในภาคใต้อีกด้วย

ข้อควรระวังของภาคใต้ คือฝนตกชุกที่อาจนำพาโรคมา รวมไปถึงพายุที่อาจทำให้สวนของเกษตรกรเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระวังและป้องกันพืชผลไม่ให้ถูกทำลายจากพายุให้ดี

.

นอกเหนือจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เกษตรกรควรคำนึงถึงก่อนเลือกปลูกพืชในแต่ละภูมิภาค คือสภาพดินในไร่สวนของตนเอง เกษตรกรควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินโดยสามารถส่งตรวจกับสำนักงานพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นจึงนำผลมาใช้ในการปรับปรุงดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป การปลูกพืชนอกเหนือไปจากพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการจัดการที่มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และต้องคำนึงถึงช่องทางการขายและการขนส่งผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปหรือผู้รับซื้ออีกด้วย

สามารถดูข้อมูลแผนที่เกษตร ได้ที่ : http://agri-map-online.moac.go.th

อ้างอิงข้อมูลจาก : Kaset Go


บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล