Top
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี

การฉีดพ่นฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำ และสารเสริมการเจริญเติบโตต่างๆ ถ้าฉีดพ่นถูกวิธีก็จะช่วยทำให้พืชดูดซึมสารเหล่านี้ไปใช้ได้รวดเร็ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดการสิ้นเปลืองการใช้สารได้มากขึ้น ดังนั้นการฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกเวลาและถูกวิธีมีดังนี้

1. เลือกการฉีดพ่นให้ถูกเวลา

การใช้ปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน หรือสารเสริมการเจริญเติบโตต่างๆ ทางใบ แนะนำให้ฉีดพ่นตอนเช้าระหว่าง 06.00-09.00 น. จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด หรืออย่างช้าอย่าให้เกิน 10.00 น. เพราะช่วงเช้าอากาศยังไม่ร้อนมากพืชจะเปิดปากใบกว้างที่สุด ทำให้การดูดซึมทำได้เร็ว และพืชนำไปใช้ต่อในกิจกรรมสังเคราะห์แสงได้ทันที

หากฉีดพ่นตอนเที่ยงหรือบ่ายช่วงที่อากาศร้อนมาก พืชจะปิดปากใบเพื่อลดการระเหยของน้ำ ส่งผลให้ดูดซึมสารที่ฉีดพ่นได้ช้าหรือน้อยลง และสารที่ฉีดพ่นจะถูกแดดเผาและระเหยไปก่อนที่พืชจะดูดซึมไปใช้ได้หมด

ส่วนการฉีดพ่นตอนเย็นก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากพืชไม่ดูดซึมสารที่เราฉีดพ่น นอกจากนี้ยังกลับคายน้ำออกมาดันสารที่เราฉีดพ่นทิ้งไปเสียอีกด้วย และกลางคืนอากาศเย็น ความชื้นสัมพัทธ์สูง สารที่ฉีดพ่นจะเปียกใบอยู่อย่างนั้นตลอดทั้งคืน มีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

มีข้อยกเว้นสำหรับสารชีวภัณฑ์หรือจุลินทรีย์ ควรฉีดพ่นตอนเย็นถึงค่ำ เพราะจุลินทรีย์จะได้มีเวลาฟื้นตัวหรือขยายตัวตลอดทั้งคืน ขณะที่การฉีดพ่นตอนเช้าหรือเที่ยง จุลินทรีย์ส่วนมากจะถูกแดดเผาตายไปเป็นส่วนใหญ่

 

2. ดูสภาพอากาศที่เหมาะสม

ควรฉีดพ่นตอนฟ้าเปิด อากาศไม่ครึ้ม ควรดูพยากรณ์อากาศด้วยว่าฝนจะไม่ตก เพราะช่วงที่ฟ้าปิด ครึ้มฟ้าครึ้มฝน เป็นช่วงที่ความชื้นในอากาศสูง พืชไม่ค่อยคายน้ำ ปากใบไม่เปิด ส่งผลให้กิจกรรมการดูดซึมทั้งทางรากและใบลดน้อยลงไปมาก และถ้าตามมาด้วยฝนตกด้วยจะยิ่งเสียหายเพราะสารที่ฉีดพ่นจะถูกน้ำฝนชะล้างไปเสียหมด

ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ผสมสารเร่งการดูดซึมลงไปด้วยก็พอช่วยได้บ้าง

 

3. ฉีดพ่นให้ถูกวิธี

เน้นฉีดพ่นเข้าใต้ใบ เนื่องจากปากใบพืช 70% อยู่ใต้ใบ อีก 30% อยู่บนใบ การฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมน หรือสารบำรุงพืชทางใบจึงควรฉีดเข้าไปที่ใต้ใบ

ด้วยวิธีการง่ายๆ นี้ การฉีดพ่นฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำ หรือสารเสริมการเจริญเติบโตต่างๆ ทางใบ ก็จะมีประสิทธิภาพ พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และลดการสิ้นเปลืองการใช้สารได้มากขึ้น



บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล