Top
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ

หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ (Tomato Leafminer )
เป็นศัตรูพืช ร้ายแรงระดับโลก เนื่องจากสามารถทำลายพืชได้หลายชนิด มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ประเทศเปรู ต่อมาได้มีการระบาดสร้างความเสียหายให้กับแหล่งปลูกมะเขือเทศ แถบอเมริกาใต้และยุโรป ส ำหรับในทวีปเอเชียพบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล ล่าสุดพบการระบาดทางแถบภาคเหนือของพม่าแล้ว ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดจึงต้องเฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์การระบาดของหนอนผีเสื้อชนิดนี้ที่มักทำลายพืชวงศ์พริกมะเขือ (Solanacearum) เช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริก ยาสูบ โทงเทงฝรั่ง รวมทั้งถั่วและกะหล่ำ
-----------------------------

ผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศ

» ชื่อทั่วไป : Tomato leafminer, Tomato pinworm หรือ South American tomato moth
» ชื่อวิทยาศาสตร์​: Tuta​ absoluta​

» ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนในวงศ์​ Gelechiidae ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา​กลาง​ 


» อายุของหนอนผีเสือชอนใบมะเขือเทศ :​ อายุเฉลี่ย​ประมาณ​ 24-38 วัน​ ในรอบ​ 1​ ปี​ สามารถขยายพันธุ์​ได้มากกว่า​ 10-12 รุ่น​

วงจรชีวิต
• ระยะไข่ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 300 ฟอง ระยะไข่4 -6วัน ลักษณะเป็นรูปทรง กระบอกขนาดเล็ก สีเหลืองครีมยาว 0.5 มิลลิเมตร

• ระยะหนอน มี 4 ระยะ ระยะแรกจะมีสีขาวหรือสีครีมหัวสีด า มีขนาด 1 มิลลิเมตร แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีเขียวเมื่อใกล้เข้าดักแด้โดยหนอน ที่โตเต็มที่จะเข้าดักแด้บนผิวใบหรือในดิน ระยะหนอน 8 - 14 วัน

• ระยะดักแด้มีสีน้ำตาลยาว 6 - 7 มิลลิเมตร โดยจะเข้าดักแด้ในดิน ผิวใบไม้แห้ง และลำต้น ระยะดักแด้ 7 - 10 วัน

• ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กความยาวลำตัว 5-7 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมเทา เพศเมียมีชีวิต 6 - 7 วัน ส่วนเพศผู้มีชีวิต 10 - 15 วัน
-----------------------------

ลักษณะการทำลาย
โดยทั่วไปหนอนจะเข้าทำลายใบเป็นหลัก แต่หนอนวัยท้าย ๆ สามารถ ที่จะเข้าไปทำลายผลได้โดยตัวหนอนกัดกินชอนไชไปภายในแผ่นใบ แต่ยังคง มีเนื้อเยื่อใบอยู่คงรูปทำให้การสังเคราะห์แสงลดลงแผ่นใบที่ถูกทำลายจะแผ่ขยาย เป็นวงกว้างและรวดเร็ว โดยหากเกิดความเสียหายรุนแรงมากอาจทำให้พืช ใบร่วงและตายได้ อาการที่ผลจะพบแผลเป็นหลุมหรือรูและจะสังเกตุเห็น ขุยสีเข้ม เมื่อผ่าผลจะพบตัวหนอนกัดกินทำลายอยู่ภายในผล

ลักษณะการทำลายของใบจากหนอนผีเสื้อชอนใบทำลายจะแตกต่างจากใบ ที่ถูกหนอนแมลงวันชอนใบ (Liriomyza spp.) โดยตัวหนอนผีเสื้อ​ที่กินใบ​ จะชอนเข้าไปกัดกินเนื้อเยื้อใต้ใบพืช​ แต่แผลมีลักษณะ​ใหญ่กระจายเป็นวงกว้าง ​ไม่ค่อยเป็นทางเหมือนหนอนชอนใบแมลงวัน​

ตัวหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ​ จะกัดกินแถบทุกส่วนของพืช​ ทั้ง​ใบ​ กิ่ง​ ลำต้น​ และผลมะเขือเทศ

» พืชอาหารหลัก : ตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริกหวาน ถั่ว และกะหล่ำ พริกหวาน ยาสูบ โทงเทงฝรั่ง
» พืชอาหารรอง : ตระกูลถั่ว และตระกูลกะหล่ำ


» ความแตกต่างของหนอนผีเสื้อขอนใบมะเขือเทศชนิดนี้แตกต่างจากหนอนชอนใบที่มีอยู่เดิม คือ หนอนชอบใบที่มาจากแมลงวัน ตัวหนอนจะไม่มีขาและไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร สีเหลืองปนดำ 

» ดังนั้นหากเกษตรกรพบเห็นมะเขือเทศที่มีลักษณะความเสียหายหรือพบหนอนชอนใบที่มีขาทั้งขาจริงและขาเทียมสอดคล้องกับลักษณะของหนอนผีเสื้อชอนใบดังกล่าวหากพบการเข้าทำลายให้รีบแจ้งและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาแนวทางการควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง ซึ่งหากระบาดรุนแรงผลผลิต อาจเสียหายได้ถึงร้อยละ 80 – 100
-----------------------------

แนวทางการป้องกันกำจัด
1. วิธีการทางเขตกรรม
- ใช้ต้นกล้ามะเขือเทศและวัสดุปลูกปราศจากหนอนผีเสื้อชอนใบ มะเขือเทศ
- ทำความสะอาดแปลงปลูก เก็บซากพืชที่ถูกหนอนท าลาย
- ปลูกพืชหมุนเวียน ไถพรวนดินและไถพลิกดิน เพื่อก าจัดดักแด้
2. สำรวจติดตามการระบาด
3. ใช้กับดัก เช่น กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ กับดักฟีโรโมน 6 – 8 กับดัก ต่อไร่
4. ใช้สารชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเจนซิส (Bacillus thuringiensissubsp.)อัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร พ่นทุก 4 –7 วัน เมื่อพบในระยะเริ่มต้น หรือ ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
5. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
- อาเตโร (อีมาเม็กติน เบนโซเอท - emamectin benzoate) 5% SG อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 6)
- วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาโคลพริด - imidacloprid) 10% W/V SL อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 4)

หมายเหตุ : พ่นสารกำจัดแมลงทุก 5 –7 วัน ติดต่อกัน 2 –3 ครั้ง โดยใช้กลุ่มสาร สลับกันอย่างน้อย2 กลุ่ม ใน 1 รอบวงจรชีวิต(30 วัน)และเว้นระยะ ไม่ใช้สารกลุ่มเดิมในรอบวงจรชีวิตถัดไป เพื่อลดการสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง
-----------------------------

ที่มา : เอกสารเผยแพร่หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขีอเทศ กรมวิชาการเกษรตร

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล