Top
การดูแลผักในฤดูฝน
เมื่อฝนตกบ่อย เป็นสภาพอากาศที่เอื้อให้การทำการเกษตรง่ายขึ้น เพราะเกษตรกรจะไม่ขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำการเกษตร ในการปลูกพืชผักต่างๆ
แต่เมื่อใดที่ฝนตกบ่อย ปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปจนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก และเกิดผลกระทบสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้เช่นกัน
ดังนั้น หากจะปลูกผักในช่วงหน้าฝน อาจจะต้องมีการดูแลการจัดการแปลงปลูกผักที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพืชผักของเราได้
 
ปัญหาที่พบในการปลูกพืชผักในช่วงฤดูฝน ได้แก่
  • การสูญเสียธาตุอาหารเนื่องจากหน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างและพัดพาหน้าดินออกไป
  • ในฤดูฝนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณแสงแดดมีไม่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงในพืช เป็นเหตุให้ผักหยุดชะงักการเจริญเติบโต
  • ปัญหาวัชพืชขึ้นเป็นจำนวนมากเนื่องจากปริมาณน้ำฝนและความชื้นสูง ซึ่งวัชพืชจะไปแย่งอาหารในดินจากพืชผลที่เราพะปลูก เป็นเหตุให้ผักเจริญเติบโตช้าลง ให้ฤดูฝนจึงมีการใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นจำนวนมาก
  • ปัญหาโรครากเน่าอันเนื่องมาจากแปลงปลูกถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งโรคพืชหลายชนิดเกิดจากเชื้อราเป็นสาเหตุหลักซึ่งสามารถขึ้นได้ง่ายในดินมีความชื้นสูง ดังนั้น โรคพืชจึงมักจะชุกชมในฤดูนี้
  • การเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลา 2 ถึง 3 วันขึ้นไป ทำให้รากพืชเกิดสภาวะการขาดก๊าซออกซิเจน และทำให้รากพืชตายได้ นอกจากก๊าซออกซิเจนแล้ว ยังเกิดปัญหาการขาดแคลนธาตุไนโตรเจนอีกด้วย
  • หยดน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้ต้นอ่อนและผักใบหลายชนิดเกิดความเสียหายได้

การดูแลจัดการแปลงปลูกผัก มีวิธีการดังนี้
✅ การคลุมแปลงปลูกด้วยหลังคา สแลนหรือตาข่ายบาง เพื่อป้องกันไม่ให้พืชผักที่ปลูกได้รับแรงกระทบกระเทือนจากหยกน้ำฝนมากจนเกินไปนัก
✅ การยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นจะช่วยให้น้ำระบายได้ดี รวมทั้งลดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณรากพืช
✅ การคลุมแปลงปลูกด้วยฟาง หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นและลดการชะล้างหน้าดิน ป้องกันดินอัดแน่นจากแรงน้ำฝนที่ตกมากระแทกดิน และป้องกันไม่ให้รากผักได้รับความเสียหายจากน้ำฝนได้
✅ ในกรณีที่แปลงเกิดน้ำท่วมขัง พืชจะเกิดสภาวะขาดก๊าซออกซิเจนและธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโจรเจน ดังนั้น หลังน้ำลดจึงควร เพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช และฟื้นฟูสภาพดินเพื่อให้โครงสร้างดินกลับมาดีให้รวดเร็ว

--------------------------------------------------
▶️ ฉีดพ่น "ฟลอริเจน" ในอัตรา 20-40 ซีซี ผสม น้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพต้นให้กลับมาสมบูรณ์ให้ไวขึ้น
▶️ ราดทางดิน "อารูกา" ในอัตรา 5-10 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร บริเวณโคนต้น เมื่อดินเริ่มแห้งแล้ว "อารูกา" จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้กลับเข้าสู่สภาพปกติได้ดียิ่งขึ้น
--------------------------------------------------
ป้องกันกำจัดโรคพืช
▶️ ในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรกรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่
ให้ราดโคนต้นพืชด้วย คิวโปรฟอส 400 อัตรา 30 ซีซี ผสมร่วมกับเวโล อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
 
บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล