Top
การตรวจวิเคราะห์ดิน

“ดิน” เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรรู้จักดินของตนเอง เพื่อให้ทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ปัญหาของดิน และวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญเราจะได้สามารถใช้ปุ๋ยได้เหมาะสมกับความต้องการของพืช

การวิเคราะห์ดิน ในความหมายที่จำกัด หมายถึง การวิเคราะห์ดินทางเคมีอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ผลที่ประเมินสถานะธาตุอาหารในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพีช (plant available nutrient) และความเป็นพิษของธาตุบางชนิดในดิน

วิธีการตรวจดินมี 4 ขั้นตอน
1. การเก็บตัวอย่างดิน
2. การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เฉพาะทางของธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ประกอบไปด้วย การเตรียมตัวอย่าง การสกัด การวิเคราะห์ปริมาณ
3. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน
4. การให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยหรือการปรับปรุงดิน

เพื่อให้ได้ตัวแทนที่ดีที่สุดของที่ดินแปลงนั้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้

• ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว หรือก่อนเตรียมดินปลูกพืชครั้งต่อไป

• พื้นที่ที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่ควรเปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขังจะทำให้เข้าไปทำงานลำบาก แต่ถ้าแห้งเกินไปดินจะแข็ง ดินควรมีความชื้นเล็กน้อยจะทำให้ขุดและเก็บได้ง่ายขึ้น

• ไม่เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน หรือโรงเรือนเก่า จอมปลวก เก็บให้ห่างไกลจากบ้านเรือน อาคารที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และบริเวณจุดที่มีปุ๋ยตกค้างอยู่

• อุปกรณ์ที่เก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด ไม่เปื้อนดิน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือสารเคมีอื่น ๆ โดยมีเครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะเก็บดิน เช่น พลั่ว จอบ และเสียม ส่วนภาชนะที่ใส่ดิน เช่น ถังพลาสติก กล่องกระดาษแข็ง กระบุง ผ้ายางหรือผ้าพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างดินส่งไปวิเคราะห์

• ต้องบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินของแต่ละตัวอย่างตามแบบฟอร์ม "บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน" ให้มากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำการจัดการดินให้ถูกต้องที่สุด


วิธีเก็บตัวอย่างดิน มีขั้นตอนง่ายๆ 5 ข้อ ดังนี้
1. สุ่มเก็บตัวอย่างดินประมาณ 16 จุดต่อหนึ่งตัวอย่าง กระจายทั่วแปลงแบบฟันปลาหรือกากบาท
2. จุดก่อนขุดดินจะต้องถางหญ้า กวาดเศษพืช หรือวัสดุที่อยู่ผิวหน้าดินออกเสียก่อน แต่ละจุดขุดหลุมเป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 เซนติเมตร หรือในระดับชั้นไถพรวน (สำหรับพืชทุกชนิด ยกเว้นสนามหญ้าเก็บจากผิวดินลึก 5 เซนติเมตร และไม้ยืนต้นเก็บจากผิวดินลึก 30 เซนติเมตร) แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากปากหลุมถึงก้นหลุม
3. นำตัวอย่างดินที่เก็บมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง บดดิน แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน 
4. แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เลือกมา 1 ส่วน แล้วตักดินส่วนที่เลือกใส่ถุงสำหรับส่งไปวิเคราะห์ให้ได้ปริมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม
5. เขียนรายละเอียดติดหน้าถุงพลาสติกให้เรียบร้อยเพื่อส่งวิเคราะห์
-------------------------------------------------

จะส่งตัวอย่างดินไปที่ไหน อย่างไร?

ตัวอย่างดินที่เก็บมาเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน
•  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้านท่าน หรือส่งไปที่กรมวิชาการเกษตรรับบริการตรวจวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และวัสดุปรับปรุงดินให้กับเกษตรกรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี จะต้องให้เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอมีหนังสือรับรองว่าเป็นเกษตรกรจริง
•  หรือส่งไปที่สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 เสียค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์ดิน
•  ตัวอย่างดินเมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว จะส่งผลกลับไปให้พร้อมกับคำแนะนำวิธีการแก้ไขปรับปรุงดิน และการใช้ปุ๋ยกับพืชที่ต้องการปลูก

•  วิธีส่งตัวอย่างดิน สามารถทำได้หลายช่องทาง อาทิ ส่งทางพัสดุไปรษณีย์  นำไปส่งด้วยตนเอง ฝากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมาส่ง หรือฝากให้เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมาส่งให้ก็ได้

อย่าลืมวิเคราะห์ดินก่อนปลูกทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรทุกท่าน เพื่อจะได้ทราบคุณภาพดิน และหากดินในพื้นที่นั้นมีปัญหาจะได้หาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของพืชที่จะปลูกต่อไป



บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล